แนวทางการหา-Keywords

แนวทางการหา Keywords และ แนะนำ Keyword Tools

อยากให้ลูกค้าค้นเจอข้อมูลสินค้าหรือบริการของเราในอันดับต้น ๆ สิ่งที่สำคัญอันดับแรก ๆ ที่เราต้องปรับแต่งก็เห็นจะหนีไม่พ้น การตั้งชื่อสินค้าให้คนเสิร์ชเจอเรา ถัดมาก็คือคำคีย์เวิร์ดต่าง ๆ ที่เราจะใช้ในการทำคอนเทนต์ บทความนี้เราเลยจะพาทุกคนไปพบกับขั้นตอนการค้นหา Keywords ทั้งที่จะนำมาใช้ตั้งชื่อสินค้า และใช้ในการทำคอนเทนต์ของเรากันค่ะ

สำหรับขั้นตอนการหาคีย์เวิร์ดของเราจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก โดยมีรายเอียดดังนี้

ขั้นตอนที่ 1: ค้นหา Keywords จากผลการค้นหาใน Google

คำค้นหา

เคยไหมคะ ที่เวลาค้นหาข้อมูลใน Search Engine อย่าง Google แล้วคิดไม่ออกว่าจะเสริชคำว่าอะไรดี วิธีค้นหาคีย์เวิรดสำหรับใช้งานในร้านค้าของเรา ก็ใช้วิธีเดียวกันกับเวลาที่คิดคำค้นหาไม่ออกได้ด้วยเหมือนกัน วิธีที่ว่านี้ก็คือ

  1. เสิร์ชคีย์เวิร์ดกว้าง ๆ ที่คิดว่าจะมีคนค้นหา
  2. เลื่อนลงไปด้านล่างสุดของหน้าผลการค้นหา เพื่อดู “การค้นหาที่เกี่ยวข้อง” กับ Keyword ที่เราค้นหา

เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้คีย์เวิร์ดสำหรับเอามาปรับใช้ในการขายของออนไลน์ละล่ะ

ก่อนกดค้นหา ควรเข้าใช้งานบราวเซอร์ในโหมด Private Browser หรือ Incognito เพื่อให้ได้ผลการค้นหาที่แท้จริง ไม่อิงกับประวัติการค้นหาของเรา

ทั้งนี้ให้เราเลือกลิสคีย์เวิร์ดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของเราออกมาก่อน โดยอาจจะกดต่อไปยังคำค้นหาที่เกี่ยวข้องเรื่อย ๆ เพื่อลิสคีย์เวิร์ดออกมาให้เยอะที่สุด โดยยังไม่ต้องเลือกนะคะว่าจะใช้คีย์เวิร์ดไหน เราแค่ลิสไว้ก่อนเท่านั้น ที่สำคัญคือให้เลือกเฉพาะคำที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของเราจริง ๆ

ขั้นตอนที่ 2: ค้นจากเว็บไซต์ Marketplace ต่าง ๆ

ส่วนใหญ่แล้วเว็บไซต์จำพวก Marketplace หรือ Classified มักจะพยายามแนะนำคำค้นหาให้กับผู้ซื้อ โดยมักจะเลือกเอาคำที่มีผู้ซื้ออื่น ๆ เลือกซื้อบ่อยมาแสดงผล ดังนั้นเว็บเหล่านี้จึงเป็นแหล่งค้นหา Keywords ที่ดีสำหรับร้านค้าออนไลน์อีกแหล่งนึงค่ะ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้เว็บไซต์เหล่านี้ในการตามหาคีย์เวิร์ดที่คิดว่าจะมีคนค้นหาได้เช่นเดียวกับการใช้ Google Search เลยค่ะ แต่แน่นอนว่าเรายังไม่รู้ว่าคำไหนดีไม่ดียังไง เราแค่มาลิสไว้ก่อนนะคะ เดี๋ยวในขั้นตอนต่อไปเราจะเอาคีย์เวิร์ดที่ลิสได้เหล่านี้มาดูกันอีกทีค่ะว่าควรจะเลือกใช้คำไหน

ขั้นตอนที่ 3: ใช้โปรแกรม Keywords Finder

ต้องบอกว่า ถึงแม้เราจะได้คีย์เวิร์ดมาจากวิธีการที่ 1-2 แล้ว แต่คีย์เวิร์ดที่ได้มา ยังไม่แน่ใจว่าจะมีประสิทธิภาพพอ วิธีการค้นหาคีย์เวิร์ดผ่านโปรแกรมเหล่านี้จะช่วยคอนเฟริมให้คุณอีกครั้งว่าคีย์เวิร์ดที่หามานั้น ใช้การได้ดีแค่ไหน โดยเราจะดูสองอย่างหลัก ๆ คือ คำที่เราหามานั้นคำไหนมีคนค้นหาเยอะ และมีคู่แข่งมากน้อยแค่ไหน โดยเราจะเลือกใช้คำที่ มีคนค้นหาเยอะ แต่คู่แข่งน้อยเป็นหลักค่ะ และโดยปกติแล้วเราจะใช้คีย์เวิร์ดไม่เกิน 5-10 คำ ต่อสินค้าหรือบริการหนึ่งประเภทนะคะ

สำหรับโปรแกรมค้นหาคีย์เวิร์ดที่เราจะแนะนำกัน จะมีดังนี้ค่ะ

1. Google Trends

google trends

ตัวนี้เป็นเครื่องมือฟรีของ Google ที่ฟรีจริง ๆ และยังคงใช้ฟรีอยู่จวบจนปัจจุบัน เหมาะสำหรับการเปรียบเทียบคีย์เวิร์ดแบบละเอียด หลังจากที่ได้ลองหาคีย์เวิร์ดมาอย่างละเอียดแล้วจากเว็บไซต์สองตัวด้านบน เพราะเว็บไซต์นี้จะแสดงผลเป็นรายสัปดาห์ ย้อนหลังได้ไปเป็น 10 ปีเลยทีเดียว ถือว่าเป็นเครื่องมือฟรีที่ดีมาก ๆ

แต่ข้อเสียของมันอยู่ที่ ไม่ได้แสดงจำนวนคนค้นหาจริง ๆ เว็บไซต์นี้เหมาะกับการเปรียบเทียบคีย์เวิร์ดมากกว่า ดังนั้นผมมักจะใช้ในการเปรียบเทียบคีย์เวิร์ดอย่างเดียว เพราะมันจะให้ค่าเต็ม 100 ไม่ว่าคีย์เวิร์ดนั้นจะมีปริมาณการค้นหาอยู่เท่าไหร่ มันก็จะสูงสุดที่ 100 ดังนั้น มันจึงเหมาะกับการเอาไว้เปรียบเทียบคีย์เวิร์ดอย่างมาก

สำหรับใครที่อยากดูคำคีย์เวิร์ดที่ Google Trends แนะนำเพิ่มเติม นอกจากการดูเทรนด์แล้ว ให้เลื่อนหน้าจอลงมาด้านล่างจะพบกับข้อมูลดังกล่าวนะคะ

ซึ่งถ้าดูจากในรูปตัวอย่างจะเห็นว่าตอนนี้คนเสิร์ชคำว่ามะม่วง อกร่องในอัตราเท่า ๆ กับการเสิร์ชหาคำว่ามะม่วงเฉย ๆ และยังมีการเสิร์ชหา มะม่วง อกร่อง ทอง, มะม่วง อกร่อง ราคา, และมะม่วง อกร่อง พิกุลทอง และเทรนด์ตอนนี้คนเริ่มมีการเสิร์ วิธี บ่ม มะม่วง อกร่อง เพิ่มขึ้นถึง 250% เสิร์ช ราคา มะม่วง อกร่อง วัน นี้ เพิ่มถึง 160% ซึ่งจากข้อมูลเหล่านี้ เราจะได้คำตอบว่า ถ้าเราจะขายมะม่วงอกร่อง ตอนนี้ที่นิยมในตลาดคือพันธ์อะไร และเวลาที่เราจะทำคอนเทนต์เพื่อโปรโมทสินค้าของเราควรจะทำคอนเทนต์ในเรื่องไหน และใช้คีย์เวิร์ดอะไรในการทำให้คนค้นหาเจอสินค้าของเรา

2. Google AdWords Keyword Planner

Google AdWords Keyword Planner

อีกหนึ่งโปรแกรมที่อยากแนะนำกันก็คงหนีไม่พ้น Google AdWords Keyword Planner หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ Google Keyword Tool นั่นเองค่ะ ซึ่งตัวโปรแกรมนี้ก็สามารถดูข้อมูลเชิงลึกของคีย์เวิร์ดได้ รวมถึงยังประเมินราคาการลงโฆษณาให้ด้วยนะ

3. KW Finder

เว็บไซต์ตัวนี้แสดงผลเหมือนกับ Google Keywords Planner มากที่สุด เพราะพอใส่คำที่เราต้องการไปแล้ว มันจะแสดงผลออกมาเป็นคีย์เวิร์ดแนะนำอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกับคำที่เราใส่ไป จำนวนคนค้นหาโดยประมาณที่ค่อนข้างตรงกับ Google Keywords Planner อยู่พอสมควรเลยทีเดียว

แต่ก็มีข้อจำกับอยู่เหมือนกัน ตอนที่ลองใช้ครั้งแรก จำกัดการค้นหาอยู่ที่ 5 ครั้งต่อวัน ผ่านมาหลายเดือนเหลือ 3 ครั้งต่อวัน ซึ่งไม่แน่ใจว่าตอนที่ทุกท่านอ่านบทความนี้อยู่นั้น เขาจะปรับลดไปเหลือเท่าไหร่แล้ว

ถ้าให้คะแนน สำหรับเครื่องมือฟรีแล้ว ตัวนี้ผมแนะนำเป็นอย่างมาก เจอใครผมก็บอกต่อให้เขาเข้าไปใช้ เพราะการแสดงผลที่ละเอียดมาก แถมมีช่องประเมินคู่แข่งมาให้อีก เป็นส่วนที่ Google Keywords Planner ไม่มี

4. Keyword Tool Dominator

ใครที่ต้องการค้นหาคีย์เวิร์ดนภาษาอังกฤษ Keyword Tool Dominator เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจค่ะ เพราะระบบ การค้นหาคีย์เวิร์ดของเว็บนี้ ให้เราสามารถเลือกค้นหาคีย์เวิร์ดจากเว็บ หรือรูปแบบที่เราสนใจ เช่น ค้นหาจาก Youtube หรือ Google Shoppping ได้นั่นเอง เรียกว่าการใช้งานระบบนี้จะทำให้ได้คีย์เวิร์ดที่ลึก และตรงกับ Target ได้มากขึ้นนั่นเอง!


และนี่ก็คือ 3 ขั้นตอนในการตามหาคีย์เวิร์ดมาใช้ในการทำคอนเทนต์เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของเรานั่นเองค่ะ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้เป็นเพียงขั้นตอนเริ่มต้นของการทำ SEO หรือการทำให้คอนเทนต์ของเราติด Search ในอันดับต้น ๆ ของ Google เท่านั้น หากใครต้องการทำให้ติดเสิร์ชจริง ๆ ลองไปศึกษาขั้นตอนการทำ SEO เพิ่มเติมได้ที่นี่นะคะ

และอย่างไร อย่าลืมนำเทคนิคนี้ไปปรับใช้กันดูนะคะ ได้ผลลัพธ์อย่างไร แวะมาแชร์กันบ้างนะ!


บทความอ้างอิง