ขั้นตอนการขายของออนไลน์

รวมข้อมูลขั้นตอน ขายของออนไลน์ จบครบในที่เดียว

สำหรับบทความนี้ LnwShop Pro ตั้งใจที่จะรวบรวมเอาขั้นตอน “ขายของออนไลน์” มาสรุปรวมทุกขั้นตอนในบล็อกเดียว เพื่อให้ใครที่กำลังจะเริ่มต้นขายของออนไลน์ สามารถใช้เป็นไกล์ไลน์ในการวางแผนการทำงานได้ง่าย ๆ รวมถึงใครที่ขายอยู่แล้ว สามารถนำไปเช็คกับการทำงานของตัวเองได้ว่าตกหล่นขั้นตอนไหนไปบ้างหรือไม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขายของออนไลน์ให้ได้มากที่สุด

สำหรับขั้นตอนการขายของออนไลน์นั้น เราแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนหลัก ๆ คือ 1. การหาสินค้ามาขาย 2. การจัดการคลังสินค้า 3. การทำการตลาด 4. ขั้นตอนการชำระเงิน 5. ขั้นตอนการขนส่ง และ 6. การบริการลูกค้าหลังการขาย ซึ่งในบล็อกนี้เรามีจะมีการลงรายละเอียดการทำงานในแต่ละขั้นตอนไว้ให้เรียบร้อยแล้ว … ไปเริ่มกันเลยค่ะ

ขั้นตอน ขายของออนไลน์

ขั้นตอนที่ 1 การหาสินค้ามาขาย

ก่อนที่เราจะนำสินค้ามาขายออนไลน์สิ่งที่เราต้องทำก่อนนั่นก็คือ การสำรวจว่าตอนนี้สินค้าอะไรน่าสนใจ สินค้าที่เราอยากนำมาขายเป็นที่นิยมหรือไม่ และสภาพตลาดของสินค้าดังกล่าว รวมถึงราคาของสินค้าในท้องตลาดปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ

สำรวจ Trends และหา Keywords

ในขั้นตอนการสำรวจ Trends เราสามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่วิธีที่เราจะแนะนำคือการสำรวจจาก Google Trends ซึ่งเราจะต้องดำเนินการดังนี้

1. กำหนด Keywords ที่คาดว่าลูกค้าจะใช้ในการค้นหาสินค้าที่เราอยากขาย และ Keywords ของสินค้าที่มีโอกาสเป็นคู่แข่งของเรา โดยอาจจะทำได้จากการลองค้นหาใน Google และดูคำที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ, ลองค้นหาใน Marketplace อย่าง Shopee, Lazada หรือ ใช้ Keyword Tools ต่าง ๆ ในการค้นหา –ดูขั้นตอนการหา Keywords ได้ที่นี่

2. หลังจากได้ Keywords มาแล้ว เราจะมาหาคำตอบกันว่าสินค้าของเรามีแนวโน้มตลาดเป็นอย่างไร เราควรใช้คีย์เวิร์ดไหนในการโปรโมท และแนวโน้มเมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้วสินค้าของเราเป็นอย่างไรบ้าง

2.1 ขั้นตอนนี้เราจะมาดูกันก่อนว่าสินค้าที่เรากำลังจะขายมีแนวโน้มตลาดเป็นอย่างไรบ้าง และเราควรใช้คีย์เวิร์ดไหนในการโปรโมท โดยขั้นแรกให้เราเสิร์ชคำที่เป็นชื่อสินค้าหลักของเราลงไป แล้วดูว่าแนวโน้มเป็นอย่างไรบ้าง

ต่อมาให้เราดูเลื่อนมาดูข้างล่างว่า คนที่ค้นหา เขามีคำค้นหาอื่น ๆ ไหม เพิ่มเติมในคลัง Keywords ของเรา โดยสามารถเลือกดูได้สองแบบคือ คำที่มีแนวโน้มการค้นหาเพิ่มขึ้น กับคำที่มีคนค้นหาเยอะ

ซึ่งถ้าดูจากในรูปตัวอย่างจะเห็นว่าตอนนี้คนเสิร์ชคำว่ามะม่วง อกร่องในอัตราเท่า ๆ กับการเสิร์ชหาคำว่ามะม่วงเฉย ๆ และยังมีการเสิร์ชหา มะม่วง อกร่อง ทอง, มะม่วง อกร่อง ราคา, และมะม่วง อกร่อง พิกุลทอง และเทรนด์ตอนนี้คนเริ่มมีการเสิร์ วิธี บ่ม มะม่วง อกร่อง เพิ่มขึ้นถึง 250% เสิร์ช ราคา มะม่วง อกร่อง วัน นี้ เพิ่มถึง 160% ซึ่งจากข้อมูลเหล่านี้ เราจะได้คำตอบว่า ถ้าเราจะขายมะม่วงอกร่อง ตอนนี้ที่นิยมในตลาดคือพันธ์อะไร และเวลาที่เราจะทำคอนเทนต์เพื่อโปรโมทสินค้าของเราควรจะทำคอนเทนต์ในเรื่องไหน และใช้คีย์เวิร์ดอะไรในการทำให้คนค้นหาเจอสินค้าของเรา

2.2 แนวโน้มการค้นหาสินค้าของเราเมื่อเทียบกับคู่แข่งเป็นอย่างไรบ้าง ให้เราลองค้นหาเปรียบเทียบระหว่าง Keyword หลักของสินค้าเรา เทียบกับสินค้าคู่แข่ง เพื่อดูว่าแนวโน้มความต้องการของตลาดไปทางทิศทางไหน

สำรวจตลาด และราคา ก่อน ขายของออนไลน์

หลังจากที่เราดูแนวโน้มคำค้นหาต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ของสินค้าที่เราจะขายแล้ว ขั้นตอนต่อมาให้เราสำรวจว่าในตลาดจริง ๆ สินค้าที่เราขายมีคู่แข่งเยอะแค่ไหน และราคาเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้นำมาตั้งราคาสินค้าของเราไม่ให้ห่างจากท้องตลาดมากนัก แต่ถ้าต้นทุนของสินค้าเรามาแพงกว่าท้องตลาด เราอาจจะต้องมองหาจุดเด่นของสินค้าที่แตกต่างจากสินค้าอื่น ๆ ในท้องตลาดแทน โดยเราสามารถสำรวจข้อมูลเหล่านี้ได้จากการเข้าไปลองค้นหาสินค้าด้วยคีย์เวิร์ดที่เราได้มาก่อนหน้านี้ในเว็บ Marketplace หรือ ลองเสิร์ชใน Google แล้วดูข้อมูลเว็บคู่แข่งก็ได้เช่นกัน

ขั้นตอนที่ 2 จัดการคลังสินค้า และหน้าขายของออนไลน์

ในขั้นตอนต่อมาหลังจากที่เราได้มาแล้วว่าจะขายสินค้าอะไร ราคาเท่าไหร่ รวมถึงจะใช้คีย์เวิร์ดไหนในการโปรโมทสินคค้า เราก็จะต้องมาเลือกช่องทางการขายสินค้าของเรา ว่าเราจะขายผ่านช่องทางไหน ซึ่งเราอาจจะแบ่งช่องทางการขายออกเป็น 3 พื้นที่หลักคือ 1. Own Website 2. Marketplace และ 3. Social Media ซึ่งแต่ละช่องทางการจะมีความเหมาะสมกับสินค้าคนละรูปแบบกัน รวมถึงยังมีวิธีการโปรโมทที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับใครที่เลือกไม่ได้ว่าจะขายช่องทางไหนดี อาจจะเลือกการขายทุกช่องทางแทน ซึ่งในปัจจุบันถึงคุณจะขายทุกช่องทางก็มีระบบที่สามารถดึงข้อมูลการขาย ไม่ว่าจะเป็นยอดคงเหลือสินค้า รายการสั่งสินค้า หรือรายการรอส่งต่าง ๆ มาไว้ที่เดียวกันได้แล้ว เช่น LnwShop Pro เป็นต้น –ดูข้อมูลระบบขายหลายช่องทาง จัดการได้ที่เดียวที่ LnwShop Pro ได้ที่นี่

คลังสินค้า ขายของออนไลน์

ทั้งนี้เมื่อเราได้ช่องทางการขายแล้ว ที่ต้องไม่ลืมเลยคือการจัดการเรื่องของสต๊อกสินค้า เราต้องมีการจดไว้เสมอมาว่าสินค้ามีกี่ชิ้น และขายไปในช่องทางใดบ้าง จำนวนเท่าไหร่บ้าง ซึ่งการบันทึกข้อมูลเหล่านี้ไว้จะช่วยให้เราแพลนได้ว่า ต้องเติมสินค้าเมื่อไหร่ และช่องทางไหนคือช่องทางที่สร้างยอดขายที่แท้จริงให้กับเรา

ขั้นตอนที่ 3 การทำการตลาด

หลังจากที่เรามีช่องทางการขายแล้ว ลำดับต่อไปที่เราต้องทำคือเรื่องของการตลาด เพื่อโปรโมทให้สินค้าของเราเป็นที่รู้จัก ซึ่งเราอยากแนะนำให้แบรนด์เริ่มต้นตั้งแต่การทำ Content Marketing กับข้อมูลของสินค้า หรือบริการของเรา ซึ่งการทำ Content Marketing นี้อาจจะใช้หลักการด้านการปรับแต่งคอนเทนต์ในการทำ Search Engine Optimization มาใช้ก็ได้เช่นเดียว

หลังจากเราเขียนข้อมูลสินค้าหรือบริการเรียบร้อยแล้ว เราอาจจะลองวาง Customer Journey และตั้ง Target ของลูกค้า เพื่อดูว่า ลูกค้าแต่ละกลุ่มจะมีวิธีพบเจอสินค้าของเราได้อย่างไรบ้าง และเราควรจะต้องทำการตลาดอะไรในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนั้น ๆ รวมถึงมีกระบวนการอะไรบ้างที่เราต้องทำ เช่น ต้องเขียนบล็อกเพื่อให้ลูกค้าเสิร์ชเจอใน Google หรือต้องมีเพจไว้ให้ลูกค้าเก่ากลับมารีวิวสินค้า เป็นต้น

zmot Customer Journey ของการ ขายของออนไลน์

ทั้งนี้เราขอสรุปข้อมูลคร่าว ๆ เกี่ยวกับการตลาดในรูปแบบที่เป็นที่นิยมมาให้แบรนด์ลองเลือกใช้กันดังนี้ค่ะ

  • Social Media Marketing ในทีนี้จะเป็นการทำ Social Media Page ของเราขึ้นมาในช่องทางที่เราถนัด และสร้าง Content ที่เหมาะกับ Social นั้น ๆ โดยมุ่งหวังให้มีคนเห็นจำนวนมาก และดึงมาซื้อสินค้าของเราในที่สุด หรือในอีกรูปแบบหนึ่ง เราสามารถใช้ Social Media ในการดูแลลูกค้าเก่าของแบรนด์ได้เช่นกัน
  • Search Engine Marketing เป็นวิธีการหลักในการทำให้คอนเทนต์ของเราติดอันดับต้น ๆ ของผลลัพธการค้นหา ซึ่งจะเป็นอีกวิธีในการเข้าถึงลูกค้าใหม่ได้เช่นกัน
  • Advertising การทำโฆษณาบนโลกออนไลน์ เราสามารถทำได้ทั้งทาง Social Media ต่าง ๆ และใน Seach Engine ซึ่งเวลาที่เราทำโฆษณาลงไปก็จะมีจุดประสงค์การโฆษณาให้เราเลือกได้ ว่าเราแค่ต้องการให้คนรับรู้แบรนด์ หรือต้องการคนมีปฎิสัมพันธ์กับแบรนด์ หรือกระทั่งต้องการคนซื้อสินค้าของแบรนด์ โดยการทำโฆษณานี้จะช่วยย่นระยะเวลาในการเข้าถึงลูกค้าจากวิธีการตลาดอื่น ๆ ได้เช่นกัน
  • Dropship การตลาดผ่านตัวแทนขาย เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้ในการกระจายการรับรู้สินค้าของเราออกไปยังกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย โดยผ่านทางตัวแทนขายสินค้าของเรา
  • Affiliate การตลาดผ่านผู้แนะนำ สำหรับวิธีการนี้เราสามารถให้ Influencer, Blogger หรือ KOL ที่เป็นที่รู้จักได้แนะนำสินค้าหรือบริการของเราให้กับผู้ติดตามของเขาเหล่านั้น และหากมีผู้สนใจซื้อสินค้าและบริการของเรา เราจึงให้คคอมมิชชั่นกับผู้แนะนำ

อ่านบทความการทำการตลาดออนไลน์ได้ที่นี่ | ดูระบบที่สนับสนุนด้านการตลาดจาก LnwShop Pro

ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนการชำระเงิน

ถัดมาจากการโปรโมทสินค้าให้เป็นที่รู้จักแล้ว เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าเข้ามาทางช่องทางการขายที่เราสร้างไว้ เราจำเป็นจะต้องมีระบบที่จะทำให้ลูกค้าสามารถดูข้อมูลการชำระเงิน, ชำระเงิน และแจ้งชำระเงินให้กับเราได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันนอกจากการรับเงินโดยวิธีการโอนเงินผ่านธนาคารแล้ว แบรนด์ยังสามารถเพิ่มวิธีการชำระเงินอื่น ๆ เช่น การรับชำระผ่านบัตรเครดิต, เคาเตอร์เซอวิส หรือ Mobile Banking อื่น ๆ ได้ผ่านบริการที่ชื่อว่า ระบบรับชำระเงินออนไลน์​ หรือ Payment Gateway ซึ่งระบบรับชำระเงินออนไลน์ มักจะมีช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลาย โดยรูปแบบการทำงานจะเป็นว่า เมื่อมีผู้สั่งสินค้า และชำระเงินเข้ามา เงินจะถูกวางไว้ที่บัญชีของผู้รับชำระเงินออนไลน์ก่อน แล้วจึงจะทำการโอนคืนให้กับแบรนด์เมื่อแบรนด์ส่งสินค้า หรือตามรอบวันที่แบรนด์ได้ตกลงกับผู้รับชำระเงินออนไลน์นั้น ๆ ซึ่งความสะดวกจากการใช้งานระบบรับชำระเงินก็คือ 1. แบรนด์จะช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลายไม่ต้องติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินหลาย ๆ เจ้า 2. จะมีระบบช่วยตรวจสอบยอดเงินให้แทนแบรนด์ และ 3. แบรนด์จะได้รับความน่าเชื่อถือที่เพิ่มขึ้น เพราะระบบรับชำระเงินส่วนใหญ่จะมีการการันตีหากผู้ซื้อไม่ได้สินค้า – ดูข้อมูลระบบรับชำระเงิน LnwPay ได้ที่นี่

ยิ่งทำให้ลูกค้าจ่ายเงินได้ง่าย และรวดเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการขายได้มากเท่านั้น

ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนการขนส่ง

สำหรับขั้นตอนการขายของออนไลน์ขั้นตอนที่ 5 นี้ก็คือเรื่องการขนส่ง ปัจจุบันผู้ให้บริการขนส่งมีผู้เล่นที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละขนส่งก็จะมีความถนัดและราคาที่แตกต่างกันออกไป แต่รูปแบบการรับส่งสินค้าจะเหมือน ๆ กัน โดยมี 3 รูปแบบดังนี้

  1. Dropoff จะเป็นการที่เราต้องนำพัสดุของเราไปดรอปส่งยังจุดรับสินค้าของผู้ให้บริการขนส่งต่าง ๆ
  2. Door to door จะเป็นรูปแบบที่บริษัทขนส่งมารับพัสดุถึงบ้าน/ร้าน/บริษัท ของเรา และนำพัสดุไปส่งให้กับลูกค้าถึงหน้าประตูบ้าน ซึ่งแบรนด์สามารถเรียกรถมารับของได้จากแอพพลิเคชั่นของผู้ให้บริการขนส่ง หรือหากแบรนด์ไหนใช้ระบบจัดการอีคอมเมิร์ซครบวงจร เช่น LnwShop Pro ก็อาจจะสามารถเรียกรถจากในระบบจัดการอีคอมเมิร์ซได้เลย
  3. COD เป็นรูปแบบที่เรายังไม่เรียกเก็บเงินค่าสินค้ากับลูกค้าก่อน แต่จะเรียกเก็บเงินกับลูกค้าเมื่อสินค้าถึงมือลูกค้าแล้ว

ดูจุดเด่นของขนส่งแต่ละเจ้าได้ที่นี่ | ดูอัตราค่าบริการขนส่งแต่ละเจ้าได้ที่นี่

ขั้นตอนที่ 6 การบริการหลังการขาย

ขั้นตอนสุดท้ายของการขายของออนไลน์ ก็คือการดูแลลูกค้าหลังจากที่เขาสั่งซื้อสินค้ากับเราไปแล้ว ซึ่งการดูแลลูกค้าในส่วนนี้นอกจากจะทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าซ้ำแล้ว ยังอาจจะทำให้ลูกค้าประทับใจ และเขียนรีวิวถึงสินค้าหรือร้านค้าของเราในทางที่ดี ซึ่งจะทำให้คนที่กำลังค้นหาข้อมูลสินค้าหรือบริการของเราพบเห็น และทำให้เขากลายมาเป็นลูกค้าของเราได้

ซึ่งในการบริการหลังการขายนี้ เราแนะนำว่าคุณควรมีการสอบถามลูกค้าหลังจากได้รับสินค้าไปว่าสินค้าเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงเชิญชวนให้ลูกค้ากลับมารีวิวให้กับเราผ่านทางช่องทางการขายที่เราสร้างไว้ เพื่อเก็บเป็นข้อมูลไว้ดึงดูดลูกค้าใหม่ต่อไป


และทั้งหมดนี้ก็คือขั้นตอนการขายของออนไลน์ที่เราได้รวบรวมเอาไว้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านทุกท่านนะคะ