สรุป 10 Digital Consumer Trends ในอาเซียนจาก Meta

จากรายงาน Southeast Asia’s Digital Consumer: A new stage of evolution  ของ Meta และ Bain & Company มีข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ Digital Consumer Trends ที่เราสามารถหยิบนำมาใช้ในการทำตลาดในปี 2023 นี้ได้หลายหลายหัวข้อ LnwShop Pro จึงขอนำมาสรุปให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

เนื้อหาในบทความ

ยุคหลังโควิดพฤติกรรมของผู้ใช้ดิจิทัลจะเปลี่ยนไป

เมื่อโควิดได้เกิดขึ้นพฤติกรรมของผู้บริโภคก็เริ่มเปลี่ยนไป การซื้อขายต่าง ๆ ก็เปลี่ยนจากออฟไลน์มาอยู่บนออนไลน์มากขึ้น แต่เมื่อโควิดผ่านไป เราก็ยังต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของสภาพเศรษฐกิจ และปัญหาต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งนั่นทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคยังคงมีความเปลี่ยนแปลง แต่รายงานฉบับนี้จะช่วยให้คุณสามารถมองเห็นถึงแนวทางที่เปลี่ยนไปของพฤติกรรมผู้บริโภค และวางแผนการทำธุรกิจ และการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

10 Digital Consumer Trends ในภูมิภาค Southeast Asia’s

1. แนวโน้มเศรษฐกิจในระยะยาวของอาเซียนยังดูดี เมื่อเทียบกับทั้งโลก

จากรายงานคาดว่าอาเซียนจะได้รับผลกระทบในแง่เศรษฐกิจน้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก การคาดการณ์การเติบโตของอัตราเงินเฟ้อก็น้อยลงกว่าภูมิภาคอื่น ในขณะที่ จำนวนประชากรที่อยู่ในวัยทำงานก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอาเซียนยังมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดการส่งออก และการเป็นปลายทางของการลงทุนเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ อย่างประเทศจีน

2. การทำงานของผู้บริหารระดับสูงยังเผชิญความยากลำบาก

ด้วยภาวะเศรษฐกิจและสังคมมีความไม่แน่นอน ทำให้ผู้บริหารระดับสูงต้องเผชิญกับความกดดัน และความท้าทายที่ไม่เคยเจอ และต้องคิดหากลยุทธ์เพื่อนำธุรกิจให้ผ่านความสภาวการณ์นี้

โดยผู้บริหารกว่า 92% คิดว่าในช่วง 2-3 ปีนี้ สภาวะเศรษฐกิจจะยังคาดเดาทิศทางได้ยาก ทำให้ต้องเตรียมองค์กรให้พร้อมรับมือในทุกสถานการณ์

นอกจากนี้ผลกำไรของธุรกิจยังลดลง รวมถึงการเปลี่ยนงานของพนักงานจำนวนมาก ทำให้ผู้บริการระดับสูงต้องมองหามาตรการณ์รับมือ เพื่อไม่ให้ธุรกิจต้องล้มลง

จากผลการสำรวจพบว่า ผู้บริหาร 91% กำลังวางมาตรการณ์ปรับลดต้นทุน 82% วางแผนที่จะขึ้นราคาสินค้าหรือบริการ และ 27% กำลังปรับกระบวนการจัดการการผลิตให้เข้ากับพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนและสร้างความได้เปรียบในระยะยาว

3. E-Commerce ยังคงเติบโต ถึงแม้ว่าจะช้าลงเมื่อเทียบปีต่อปี

ส่วนภาพรวมการช้อปปิ้งในภูมิภาคนี้ก็ยังคงมีการเติบโต แม้ว่าจะเติบโตจะช้าลงเมื่อเทียบแบบปีต่อปี แต่มูลค่าตลาดโดยรวมของอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2027

ซึ่งการที่อัตราการเติบโตลดลง ก็น่าจะมาจากการเปิดเมือง ทำให้ผู้คนออกไปช้อปปิ้งออฟไลน์ได้เพิ่มขึ้น แต่ถึงอย่างไรการช้อปปิ้งออนไลน์ก็ยังไม่ได้หายไป ในแง่ของมูลค่าการซื้อขายรวม (GMV) คาดว่าน่าจะเติบโตได้ถึง 17% จาก 129,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2022 จะเพิ่มไปถึง 280,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2027

และจากในภาพด้านบนจะเห็นว่าสำหรับประเทศไทยถือว่ามีมูลค่าการซื้อขายของอีคอมเมิร์ซสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาค รองจากอินโดนีเซีย โดยคาดการณ์ว่าในปี 2023 นี้จะเติบโตเพิ่มขึ้น 18%

4. ผู้บริโภคทั่วโลกต้องการประสบการณ์ที่ผสมผสานทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์

ผู้ซื้อกว่า 80% ยังคงพึงพอใจในการค้นหาข้อมูลสินค้า และประเมินผลการใช้งานสินค้าผ่านระบบออนไลน์ แต่เริ่มมีผู้ซื้อกว่า 41% ที่ใช้การซื้อออฟไลน์เข้ามาเชื่อมโยงใน Journey ของการซื้อสินค้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าออนไลน์กับออฟไลน์จึงต้องเชื่อมต่อกัน จึงเป็นสาเหตุที่กลยุทธ์แบบ O2O มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

และในภาพด้านบนก็คือ % ของผู้ซื้อที่มีการใช้ออนไลน์ในขั้นตอนต่าง ๆ ของการเลือกซื้อสินค้า

5. Video บน Social Media เป็นช่องทางที่ทำให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

Social Media เป็นช่องทางที่ทำให้แบรนด์เข้าถึงลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมากถึง 50% ของช่องทางทั้งหมด และในสื่อโซเชียลมีเดียเอง วีดีโอก็ถือเป็นมีเดียหลักที่ถูกชมมากที่สุด

ทั้งนี้การเติบโตของ Social Video มีการเติบโตขึ้น 3 เท่าจากปี 2020 ถึงปี 2022 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นที่ 70%

6. ผู้ซื้อเปิดใจรับแบรนด์ใหม่เสมอ และเลือกซื้อจากความคุ้มค่า

กว่า 53% ของผู้ทำแบบทดสอบกล่าวว่าแบรนด์ที่ตนซื้อสินค้ามากที่สุดนั้นไม่ใช่แบรนด์เดิม แต่เลือกที่จะค้นหาสินค้าที่มีความคุ้มค่าทั้งในแง่ราคา และตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งการเลือกซื้อนี้เกิดขึ้นในแพลตฟอร์มมากกว่าแต่ก่อน นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังแสวงหาการมีส่วนร่วมมากขึ้น มีการเข้าถึงวีดีโอ และส่งข้อความหาแบรนด์มากขึ้น ดังนั้นแบรนด์จึงควรอยู่ในหลากหลายพื้นที่ เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้ทุก Touchpoint

7. ความพึงพอใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ลดลง

ระดับความพึงพอใจในการช้อปปิ้งในแพลตฟอร์มชั้นนำ ลดลงเหลือเพียง 35% จากเดิมที่อยู่ที่ 53% ซึ่งการลดลงของระดับคะแนนความพึงพอใจในครั้งนี้มาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าที่สูงขึ้น คุณภาพสินค้าที่ลดลง

แต่หากเรามองในมุมกลับ ตัวเลขที่ลดลงนี้ หมายถึงโอกาสของเรา ที่จะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าให้เพิ่มขึ้น ถ้าเราทำได้ เราก็มีโอกาสชนะคู่แข่งในตลาดได้

8. Content Creator มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

เกือบ 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจจัดอันดับให้วิดีโอเป็นช่องทางที่ตนใช้สำหรับการค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการ รวมถึงหาข้อมูลรีวิวมากที่สุด รวมถึง 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจยังบอกว่าตนซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ครีเอเตอร์และการสตรีมมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และ 63% ของผู้ตอบแบบสำรวจเคยใช้การส่งข้อความถึงธุรกิจในปี 2022

ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า การสร้างคอนเทนต์โดยเฉพาะรูปแบบวีดีโอ มีความสำคัญมาก ๆ กับธุรกิจ รวมถึงการสร้างช่องทางที่ทำให้เกิดการพูดคุย และเข้าถึงแบรนด์ได้ง่ายก็สำคัญไม่แพ้กัน และ นอกจากนี้ในรายงานก็ได้เห็นการเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยครีเอเตอร์ในภูมิภาคอีกด้วย

9. อาเซียนถือเป็นผู้นำในการลงทุนด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้าน Fintech

เมื่อเทียบกับทั่วโลกแล้ว ภูมิภาคของเรามีการลงทุนในแง่เทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านของ e-Wallets, cryptocurrency and non-fungible tokens สูงกว่าภูมิภาคอื่น และ 7 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถามยังเข้าถึงเทคโนโลยีอย่าง Metaverse แล้วอีกด้วย

10. ธุรกิจต้องปรับตัวให้ไว เพื่อป้องกันการถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

สำหรับข้อสุดท้ายนี้ รายงานบอกว่าธุรกิจต้องปรับตัวให้ไว จะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเหมือนแต่ก่อนไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านเศรษฐกิจ หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีก็ล้วนแต่เปลี่ยนอย่างรวดเร็วและไม่แน่นอน และลูกค้าของคุณจะไม่นั่งรอให้คุณค่อย ๆ ปรับตัวอีกต่อไป ดังนั้นถ้าคุณปรับตัวช้า ก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังอย่างแน่นอน


และทั้งหมดนี้ก็คือ 10 Trends Southeast Asia’s Digital Consumer จาก Meta ค่ะ ซึ่งโดยสรุปแล้วถือว่า พวกเราที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังถือว่าโชคดีในแง่ของสภาพเศรษฐกิจต่าง ๆ เมื่อเทียบกับทั่วโลก รวมถึงเรายังมีพื้นฐานการเติบโตของเทคโนโลยีที่ดี แต่เราก็ต้องรีบปรับตัวให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลง และเชื่อมโยงการทำธุรกิจทั้งออนไลน์และออนกราวน์เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีกับผู้ซื้อค่ะ ยังไงถ้าใครอ่านถึงตรงนี้แล้ว มีความคิดเห็นเหมือนหรือแตกต่างจากรายงานฉบับนี้ลองมาแลกเปลี่ยนกันดูได้นะคะ 🙂


อ้างอิง