Blog Influencer Marketing

Influencer Marketing การตลาดเทรนด์ใหม่ เข้าถึงลูกค้าผ่านผู้มีอิทธิพลต่อการซื้อ

ทำความรู้จักกับ Influencer Marketing การตลาดมาแรงที่หลายแบรนด์เลือกใช้ ที่จะช่วยให้คุณเข้าถึงลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย จากกลุ่มผู้ติดตามอินฟลูเอนเซอร์ที่มีอิทธิพลช่วยในการโน้มน้าวและตัดสินใจซื้อ ซึ่งวันนี้ LnwShop Pro ก็ได้สรุปข้อมูลที่น่าสนใจของการตลาดรูปแบบนี้มาให้คุณแล้วค่ะ

Influencer Marketing คืออะไร

การตลาดผ่าน Influencer คือการตลาดที่แบรนด์ทำงานร่วมกับ Influencer หรือผู้มีอิทธิพลบน Social Media เพื่อโปรโมทสินค้าหรือบริการ โดยอินฟลูเอนเซอร์จะได้รับค่าตอบแทนตามที่ได้ตกลงร่วมกับแบรนด์ ซึ่งแบรนด์จะเลือกอินฟลูเอนเซอร์จากกลุ่มผู้ติดตามของเขา ที่แบรนด์คาดหวังให้กลายมาเป็นลูกค้า

ทั้งนี้ อินฟลูเอนเซอร์หรือผู้มีอิทธิพลที่เราพูดถึง สามารถเป็นใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นคนดัง สามารถเป็นได้ทั้ง Blogger, YouTuber, ช่างภาพ หรือผู้บริหารการตลาดที่น่าเชื่อถือบน Facebook โดยสิ่งที่ทำให้เขาเหล่านั้นกลายเป็นผู้มีอิทธิพลได้ คือจำนวนผู้ติดตามบนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ บางคนอาจมีผู้ติดตามเป็นแสน หรือบางคนมีผู้ติดตามเพียง 10,000 คน แต่หากเขาคือคนที่มีชื่อเสียงในสายงานของตัวเอง มีความน่าเชื่อถือ สามารถตอบคำถามกับผู้คนได้ เขาก็คือผู้สร้างโอกาสในการขายให้แบรนด์ของคุณได้เช่นกัน

ขนาดของอินฟลูเอนเซอร์

สำหรับความแตกต่างของอินฟลูเอนเซอร์ในปัจจุบัน มีหน่วยวัดตามจำนวนผู้ติดตาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับคือ

  • Nano มีผู้ติดตามน้อยกว่า 10,000 คน
  • Micro มีผู้ติดตามตั้งแต่ 10,000 ถึง 50,000
  • Medium มีผู้ติดตามตั้งแต่ 50,000 ถึง 100,000 คน
  • Macro มีผู้ติดตามมากกว่า 500,000 คน
  • Mega ที่หายาก มีผู้ติดตามมากกว่าหนึ่งล้านคน

ความแตกต่างระหว่างการตลาดแบบ Influencer และ Affiliate

แม้ว่าการทำการตลาดสองรูปแบบนี้จะดูคล้ายคลึงกัน แต่ความต่างที่แยก Influencer Marketing กับ Affiliate Marketing นั้นคือ บทบาทของพาร์ทเนอร์ที่ร่วมงานกับแบรนด์ 

การตลาดแบบ Influencer คือการทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากและมีส่วนร่วมบนโซเชียลมีเดีย เพื่อโปรโมทสินค้าหรือบริการแก่ผู้ที่ติดตามอินฟลูเอนเซอร์คนนั้น ๆ โดยแลกมากับค่าตอบแทน ซึ่งเป้าหมายของการตลาดรูปแบบนี้คือ การใช้ประโยชน์จากความน่าเชื่อถือและการเข้าถึงกลุ่มคนของอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อเพิ่มการรับรู้และผลักดันยอดขาย

ส่วนการตลาดแบบ Affiliate คือการทำงานร่วมกับผู้แนะนำหรือบุคคที่มีความสนใจในสินค้าหรือบริการเฉพาะกลุ่ม โดยผู้แนะนำจะทำการโปรโมทสินค้าหรือบริการผ่าน Affiliate Link หรือ Code ส่วนลดที่ได้จากแบรนด์ เมื่อมีคนคลิกเข้ามาและซื้อสินค้า ผู้แนะนำจะได้รับค่าคอมมิชชั่นเป็นการตอบแทน เป้าหมายของการตลาดรูปแบบนี้คือ ผลักดันยอดขายและเพิ่มรายได้

ดังนั้น แม้ว่าทั้งสองกลยุทธ์จะมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นยอดขายเช่นเดียวกัน แต่แนวทางและกลยุทธ์ที่ใช้นั้นก็มีความแตกต่างกันค่ะ

สถิติน่าสนใจเกี่ยวกับการตลาดแบบ Influencer

  • จากสถิติบอกว่าตั้งแต่ปี 2559 มีการค้นหาวลี “influencer marketing” เพิ่มขึ้น 465% บน Google
  • 92% ของนักการตลาดเชื่อว่าการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์เป็นรูปแบบการตลาดที่มีประสิทธิภาพ
  • 67% ของแบรนด์ใช้ Instagram เพื่อการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์
  • 41% ของแบรนด์ใช้อินฟลูเอนเซอร์เพื่อเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์
  • 67% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีงบประมาณสำหรับการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ตั้งใจที่จะเพิ่มงบประมาณการตลาดโดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ภายในปี 2566
  • 72% ของ Gen Z และ Millennials ติดตามผู้มีอิทธิพลบนโซเชียลมีเดีย
  • TikTok กลายเป็นช่องทางทำการตลาดแบบอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดอยู่ที่ 56% แซงหน้า Instagram 51% เป็นครั้งแรก และแซงหน้า Facebook 42% และ YouTube 38%
  • 45% ของนักการตลาดใช้ TikTok สำหรับแคมเปญการตลาดที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์ในปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 4% ในปี 2566

ข้อมูลสถิติจาก fitsmallbusiness.com, Influencer Marketing Hub 2022 และ blog.hubspot.com

Best Practice of Influencer Marketing

  1. ระบุเป้าหมายสำหรับแคมเปญ – คุณต้องกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับทุกแคมเปญ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นเป้าหมายที่ปฏิบัติได้และวัดผลได้ เป้าหมายของคุณไม่จำเป็นต้องเป็นการขายสินค้าให้มากขึ้น แต่อาจเป็นการรับรู้และจดจำแบรนด์มากขึ้น นอกจากนี้คุณต้องกำหนดด้วยว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกอินฟลูเอนเซอร์ที่ต้องการ
  2. ปรับแต่งอีเมลเพื่อส่งถึงอินฟลูเอนเซอร์ – คุณต้องปรับแต่งอีเมลหรือข้อความประชาสัมพันธ์แต่ละฉบับที่ส่งถึงอินฟลูอินเซอร์แต่ละคน เพื่อให้เขามีแรงจูงใจในการเปิดอ่านอีเมลหรือข้อความอื่น ๆ ของคุณ อินฟลูอินเซอร์ส่วนใหญ่จะไม่สนใจอีเมลใด ๆ ที่ดูเหมือนถูกคัดลอกและวาง
  3. เลือกอินฟลูอินเซอร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะกลุ่มของคุณ – เลือกทำงานร่วมกับอินฟลูอินเซอร์ที่มีอิทธิพลต่อประเภทของคนที่คุณกำลังมองหาเพื่อเป็นลูกค้า เช่น หากคุณขายสินค้าในอุตสาหกรรมแฟชั่น คุณควรทำงานร่วมกับอินฟลูอินเซอร์ที่เป็นผู้นำทางความคิดของแฟชั่น หากคุณขายผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดใจเกมเมอร์ คุณควรทำงานร่วมกับเกมเมอร์ที่ได้รับความนิยมบน Twitch, YouTube หรือ TikTok
  4. เลือกอินฟลูอินเซอร์ที่มีวัฒนธรรมและค่านิยมเดียวกันกับแบรนด์ของคุณ – แบรนด์ต่าง ๆ ต้องแน่ใจว่าบุคลิกและทัศนคติของอินฟลูเอนเซอร์ที่จะร่วมงานด้วยนั้นตรงกับจรรยาบรรณของแบรนด์ เพื่อให้พวกเขาสามารถนำเสนอการรับรองที่เป็นธรรมชาติและแท้จริงได้
  5. เลือกอินฟลูอินเซอร์ที่ทำงานในพื้นที่โซเชียลเดียวกันกับกลุ่มเป้าหมายของคุณ – จำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องจับคู่โซเชียลมีเดียของอินฟลูอินเซอร์กับเครือข่ายโซเชียลที่ต้องการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
  6. เลือกอินฟลูเอนเซอร์จากการมีส่วนร่วมมากกว่าจำนวนผู้ติดตาม – กุญแจสู่ความสำเร็จของการตลาดร่วมกับอินฟลูอินเซอร์คือการมีส่วนร่วม แบรนด์ควรสังเกตว่า คนที่คุณจะเลือกเขาโพสต์เป็นประจำ มีการแสดงความคิดเห็น กดถูกใจ และมีส่วนร่วมทางสังคมประเภทอื่น ๆ กับผู้ติดตามหรือไม่
  7. อย่าตีกรอบการทำงานให้อนฟลูเอนเซอร์– คุณต้องให้อินฟลูเอนเซอร์มีอิสระมากพอที่จะโพสต์เนื้อหาในรูปแบบปกติ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผู้ติดตามชื่นชอบอยู่แล้ว แต่คุณก็ควรกำหนดแนวทางบางอย่างสำหรับความคาดหวังของคุณ เช่น กำหนดจำนวนโพสต์ที่พวกเขาควรทำในกรอบเวลาสำหรับการชำระเงินที่ตกลงไว้ และกำหนดให้แสดงผลิตภัณฑ์ ชื่อแบรนด์ และแฮชแท็กของแคมเปญ หากเป้าหมายแคมเปญของคุณเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือบัญชีโซเชียลของบริษัท คุณควรให้ลิงก์ที่เกี่ยวข้องแก่อินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งพวกเขาควรรวมไว้ในโพสต์ด้วย และคุณควรกำหนดเป้าหมายแคมเปญของคุณให้ชัดเจนพร้อมกับความคาดหวังของคุณที่มีต่ออินฟลูเอนเซอร์
  8. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอินฟลูอินเซอร์ของคุณระบุว่าโพสต์ของพวกเขาเป็นผู้สนับสนุนอย่างชัดเจน – ไม่ใช่อินฟลูอินเซอร์ทุกคนที่จะเข้าใจกฎอย่างถ่องแท้ ดังนั้นคุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาระบุว่าโพสต์ของคุณเป็นผู้สนับสนุน
  9. ใช้ Analytics เพื่อตรวจสอบผลตอบแทนจากการลงทุนของคุณ – ในช่วงเริ่มต้นของแคมเปญ คุณจะต้องตั้งเป้าหมายของแคมเปญไว้บางส่วน และคุณต้องวัดความสำเร็จของแคมเปญในขณะที่ดำเนินไป แม้ว่าเราจะสามารถพูดได้โดยทั่วไปว่าคุณจำเป็นต้องวัดผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของแคมเปญของคุณ แต่การตลาดที่ใช้อินฟลูเอนเซอร์นั้น ไม่ได้มีตัวชี้วัดความสำเร็จของ ROI เพียงอย่างเดียว ดังนั้น ตัวชี้วัดความสำเร็จของคุณจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่คุณตั้งไว้

และนี่ก็เป็นเรื่องราวของการตลาดแบบ Influencer การตลาดที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ อย่างไรก็ตาม การเลือกกลยุทธ์ในการทำการตลาดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับแผนงานของแบรนด์ว่าต้องการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตด้วยภาพลักษณ์แบบใด ทั้งนี้ หวังว่าข้อมูลที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการตลาดที่สร้างความคุ้มค่าให้กับทุกแบรนด์นะคะ


อ้างอิง