E-commerce trends 2023

คาดการณ์ E-Commerce Trends 2023 สรุปข้อมูลสำคัญจากงานสัมมนา LnwShop Pro

สรุปแนวโน้มเทรนด์อีคอมเมิร์ซจากงานสัมมนา “คาดการณ์ E-Commerce Trends 2023 ส่องแนวโน้มการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” ที่จัดโดย LnwShop Pro เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา อะไรคือสิ่งที่น่าสนใจ และเทรนด์ไหนคือสิ่งที่แบรนด์ออนไลน์ต้องจับตามอง เราสรุปมาให้แล้ว

E-Commerce Trends 2023

จากข้อมูลการวิเคราะห์ของทีมงาน LnwShop Pro เกี่ยวกับเทรนด์อีคอมเมิร์ซที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 นั้น มีดังนี้

1. Omnichannel Marketing

แม้ว่าการตลาดแบบ Omnichannel จะมีมานาน และถูกพูดถึงอยู่บ่อย ๆ แต่สำหรับในปี 2023 การตลาดรูปแบบนี้ก็ไม่ได้ดูเก่าเกินกว่าที่เราจะให้ความสำคัญ เพราะปัจจุบันลูกค้ายังคงมองหาแบรนด์ที่จะอำนวยความสะดวกในการช้อปปิ้งให้เขาสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย และจับจ่ายได้ทุกแพลตฟอร์ม ทั้งในช่องทางออนไลน์และออฟไลน์

เรียกได้ว่า การขายหลายช่องทางบนออนไลน์ก็ต้องให้ความสำคัญ และการเชื่อมต่อออนไลน์กับออฟไลน์ ก็ควรเชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้ Customer Journey ของลูกค้าดำเนินไปได้อย่างไม่มีสะดุด

Case Study การทำการตลาดแบบ Omnichannel

ยกตัวอย่างแบรนด์ที่ทำ Omnichannel Marketing เพื่อให้เห็นภาพการใช้งานมากขึ้น

  • Starbucks ร้านกาแฟชื่อดังที่พูดถึงใครก็รู้จัก เลือกสร้างประสบการณ์ซื้อขายแบบไร้รอยต่อ โดยให้ลูกค้าสามารถเข้าไปสั่งเครื่องดื่มผ่านทางแอปพลิเคชั่น ก่อนเข้าไปรับสินค้าที่หน้าร้านได้
  • หรืออีกหนึ่งตัวอย่างจาก Uniqlo ร้านจำหน่ายเครื่องแต่งกายจากญี่ปุ่น ที่มีบริการสั่งซื้อเสื้อผ้าผ่านแอปพลิเคชั่น และเข้าไปรับที่หน้าร้าน หรือจะเป็นการกดรับคูปองในแอป เพื่อนำไปใช้เป็นส่วนลดที่หน้าร้าน

ซึ่งจะเห็นว่าทั้งสองแบรนด์ ผสมผสานการทำงานระหว่างออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน ทำให้ลูกค้าสะดวกสบายในการซื้อสินค้าผ่านช่องทางใดก็ได้

แนะนำ 4 ขั้นตอนการทำ Omnichannel Marketing

  1. เก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ในที่เดียว เพื่อให้แบรนด์สามารถสื่อสารกับลูกค้าในทุกช่องทางที่เขาติดต่อเข้ามาด้วยข้อมูลพื้นฐานเดียวกัน
  2. One Voice, One Message, All Channel พูดถึงแบรนด์หรือแคมเปญต่าง ๆ ไปในทิศทางเดียวกันทุกช่องทาง
  3. วิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้าเพื่อนำเสนอโปรโมชั่นให้ถูกต้อง สร้างความประทับใจในแบรนด์สินค้า
  4. สำคัญที่สุดคือ การเชื่อมโยงทุกช่องทางเข้าถึงกัน เพราะลูกค้าอยู่ในทุกพื้นที่ การเชื่อมโยงทุกช่องทางเข้าถึงกัน จะทำให้เขาสามารถเข้าถึงสินค้าหรือแบรนด์ของเราได้ง่าย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตลาดแบบ Omnichannel ที่บทความ Omnichannel Marketing คืออะไร และเราจะนำมาใช้จริงได้อย่างไร

2. AI-Advertising

เนื่องจากตอนนี้หลาย ๆ แพลตฟอร์มต่างพัฒนา AI ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้การทำงานในหลายภาคส่วน สำหรับแพลตฟอร์มลงโฆษณาเอง ก็ได้พัฒนา AI เพื่อมาวิเคราะห์และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ดีมากขึ้นเช่นเดียว

  • Google – พัฒนาโฆษณา Performance Max ให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทุกพื้นที่บนเครือข่าย Google พร้อมทั้งให้คุณลงโฆษณาได้หลากหลาย Creative Ads ไม่ว่าจะเป็นข้อความ, รูปภาพแบนเนอร์, วิดีโอ หรือภาพสินค้า และยังใช้ AI ในการวิเคราะห์เพื่อส่งรูปแบบโฆษณาไปหาลูกค้าที่ใช่ ในพื้นที่ที่เหมาะสม ที่จะช่วยให้แบรนด์มีโอกาสปิดการขายมากขึ้น
  • Facebook – พัฒนา Facebook Dynamic Ads โฆษณาสินค้าบน Facebook ที่มี AI คอยวิเคราะห์ว่า จะแสดงสินค้าชิ้นไหนให้กับกลุ่มคนลักษณะใด เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างการสั่งซื้อ และปิดการขายให้ได้มากที่สุดเช่นเดียวกัน

สำหรับข้อเสียของการลงโฆษณาในระบบที่มี AI คอยช่วยจัดการ คือการที่ต้องให้เวลาระบบเก็บข้อมูล และเรียนรู้ข้อมูลอย่างเต็มที่ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธินั่นเอง

3. Partnership Marketing

การทำการตลาดในรูปแบบ Partnership เริ่มมีบทบามมาขึ้นในปัจจุบัน เห็นได้จากการที่หลาย ๆ แบรนด์ เลือกใช้งานเหล่า KOLs, Influencers หรือ Partner มาช่วยพูดถึงแบรนด์ หรือรีวิวการใช้งาน เพราะการที่แบรนด์ถูกพูดถึงจากมุมมองของคนอื่น มักจะได้รับความสนใจมากกว่าการที่แบรนด์พูดถึงตัวเอง

ตัวอย่างเช่น บนช่อง TikTok ก็มี E-commerce Creator Marketplace เป็นพื้นที่ให้แบรนด์สามารถเข้าไปค้นหา KOLs ที่เหมาะกับแบรนด์และทำงานร่วมกัน หรือบน Lazada / Shopee ก็มีการทำ Affiliate Program กับลูกค้าของเขาด้วย

สิ่งสำคัญของการทำการตลาดในรูปแบบนี้ คือ
ทุกแคมเปญต้องวัดผลและติดตามผลได้อย่างชัดเจน

เพราะผลลัพธ์ของการทำงานจะช่วยให้เราสามารถวางแผนปรับกลยุทธ์การตลาด หรือเลือกประเภทของกลุ่ม KOLs/Influencers ที่ตรงกับความต้องการได้ง่ายขึ้น

สำหรับ LnwShop Pro ก็มีระบบ Affiliate Marketing ช่วยแบรนด์จัดการข้อมูลรายชื่อผู้แนะนำการขาย ให้แบรนด์สามารถออก Affiliate Link หรือคูปองส่วนลดได้ พร้อมทั้งติดตามรายงานผลการขายของผู้แนะนำแต่ละคนจากหลังร้านได้ง่าย ๆ ศึกษาเพิ่มเติมที่นี่ Affiliate Marketing การตลาดที่น่าจับตามอง

4. Live Commerce

กระแสของการ Live ขายสินค้านั้น ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และหลาย ๆ แอปพลิเคชั่น ตอนนี้ก็ได้มีการพัฒนาฟังก์ชัน Live Shopping ขึ้นมาเพื่อรองรับการขายของออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น TikTok Live หรือการไลฟ์บน Marketplace ต่าง ๆ

โดยสิ่งที่แบรนด์ควรคำนึงถึงเมื่อทำการตลาดในรูปแบบนี้ คือ กลุ่มลูกค้าของแบรนด์ ซึ่งเราควรทราบว่า กลุ่มลูกค้าของเราคือใคร และเขาใช้ช่องทางไหนในการเลือกดูสินค้า หรือนิยมใช้ช่องทางไหนเป็นหลัก เพื่อให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ที่สำคัญควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาฐานลูกค้าต่อไปด้วย

TikTok Live Commerce

5. Short Video

สุดท้ายกับเทรนด์ของวิดีโอ ที่ตอนนี้จะเห็นว่าหลายแพลตฟอร์มพร้อมใจกันผลักดันให้มีการมองเห็นฟีเจอร์นี้มากขึ้นเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น Reels ของ Facebook และ Instagram หรือ YouTube Shorts จาก YouTube

ซึ่งแบรนด์ออนไลน์เอง ก็สามารถทำวิดีโอเกี่ยวกับการรีวิวสินค้าหรือเล่าเกี่ยวกับสินค้าตามเทรนด์นี้ได้ เพื่อสร้างการรับรู้ให้ลูกค้าเข้าใจตัวสินค้าของเรามากขึ้นได้ผ่านการอธิบายในวิดีโอสั้น ๆ และยังสามารถนำวิดีโอนั้น ไปแสดงผลร่วมกับรูปภาพสินค้าเพื่อเพิ่มความน่าสนใจบนเว็บไซต์ได้ด้วย

ข้อสำคัญในการทำวิดีโอ คือ ต้องไม่ลืมการทำ Subtitle เพราะไม่ใช่ทุกครั้งที่ผู้รับชมจะเปิดฟังเสียงของวิดีโอ ซึ่งหากเราไม่มี Subtitle ก็อาจจะพลาดโอกาสสื่อสารหรือเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ได้


และนี่ก็คือแนวโน้มของ E-Commerce Trends 2023 จากงานสัมมนาที่จัดโดย LnwShop Pro แพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับธุรกิจองค์กร ที่เรานำมาฝากกัน และหวังว่า จะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้แบรนด์ออนไลน์ สามารถรวางแผนทำการตลาดได้อย่างมีแนวทางที่ชัดเจนกันมากขึ้น